เซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูล

ความต้องการของศูนย์ข้อมูลในช่วงการแพร่กระจายของโคโรน่าไวรัส

#KingstonCognate ขอแนะนำ ศาตราจารย์ Sally Eaves

ภาพศาสตราจารย์ Sally Eaves

ศาสตราจารย์ Sally Eaves เป็นประธาน Cyber Trust และที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุโสให้กับ Global Foundation of Cyber Studies and Research เธอได้รับการกล่าวถึงในฐานะ “ผู้มีบทบาทสำคัญด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมจริยธรรม” และเป็นผู้ได้รับรางวัล Frontier Technology and Social Impact Award ซึ่งเธอเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าวจากสหประชาชาติ นอกจากจะเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ในระดับสากลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ Sally ยังเป็นนักเขียนระดับนานาชาติที่มีรางวัลรับรอง อีกทั้งยังเป็นพิธีกร วิทยากร และผู้นำทางความคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิตอล (AI, 5G, คลาวด์, บล็อคเชน, การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์, ธรรมาภิบาล, IoT และวิทยาการข้อมูล) รวมถึงวัฒนธรรม, ชุดทักษะ, DEI และผลกระทบต่อสังคมและความยั่งยืน

Sally ให้ความรู้และฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนบุคลากรด้านเทคนิครุ่นใหม่อย่างจริงจังและยังเป็นผู้ก่อตั้ง Aspirational Futures เพื่อส่งเสริมการเปิดโอกาส ความหลากหลายและความเท่าเทียมด้านการเรียนรู้และเทคโนโลยี โดยเธอมีแผนจะเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ล่าสุดอย่าง “Tech For Good” ในเร็วๆ นี้ Sally เป็นที่จับตามองอย่างต่อเนื่องด้วยอิทธิพลในระดับโลกด้านเทคโนโลยีจากการได้ดูแลหน่วยงานชั้นนำมากมาย เช่น Onalytica โดยเป็นบุคคลสำคัญติด 10 อันดับแรกในสาขาต่างๆ ทั้ง AI, 5G, สิ่งแวดล้อม และสาขาอื่นๆ อีกมากมาย

ข้อมูลในปัจจุบันคือเครื่องมือที่สำคัญระหว่างการ “พักอยู่บ้าน”

SSD กำลังถูกติดตั้งในเซิร์ฟเวอร์

ภายใต้ภาวการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกที่ไม่เคยพบมาก่อนนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับแนวทางในการทำงาน การเรียนรู้และการใช้ชีวิตทั้งในด้านความรวดเร็วและโครงสร้างรองรับ การเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดคือ DNA ของอุตสาหกรรมผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ‘เบื้องหลัง’ และถือเป็น ‘ส่วนบริการที่จำเป็น’ ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก สถานการณ์ที่เกิดผลกระทบต่อองค์กรในทุกขนาด ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจากโคโรน่าไวรัสทำให้เกิดแรงกระเพื่อมต่อความต่อเนื่องทางธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมสำหรับอุปสรรคต่าง ๆ การปรับปรุงส่วนบริการในปัจจุบันพร้อม ๆ กับการรองรับความต้องการใหม่ ๆ จึงกลายเป็นกลยุทธ์และความจำเป็นในการให้บริการของศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ มีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญอยู่สองประการที่นำไปสู่ความต้องการด้านการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างสูง ประการแรกคือขีดความสามารถในการประมวลผล เนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงานครั้งใหญ่มาทำงานที่บ้านในกลุ่มธุรกิจและสถาบันต่าง ๆ โครงสร้างพื้นฐานของระบบดิจิตอลได้กลายมาเป็นกลจักรที่สำคัญในเศรษฐกิจโลกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การใช้งานแอพพลิเคชั่นดิจิตอลเพื่อการโทรสารวิดีโอ สื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ ค้าขายออนไลน์และการเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสื่อบันเทิงและเวลาที่ผู้คนอยู่บ้านมากขึ้นทำให้ปริมาณการใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างสูง

ผู้ชายยืนอยู่ใกล้แร็คเซิร์ฟเวอร์พร้อมกับ PC โน้ตบุ๊ก

ความต้องการใหม่ด้านขีดความสามารถของศูนย์ข้อมูลถือเป็นสถิติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ข้อมูลล่าสุดจาก Kingston{{Footnote.N58295}} เกี่ยวกับการเติบโตของศูนย์ข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความจำเป็น ‘ที่ขาดไม่ได้’ ด้านการสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะเมื่อมีการพัฒนาโครงข่าย 5G, IoT และ Edge Computing ขึ้น เมื่อบวกกับสถานการณ์โคโรน่าไวรัสในปัจจุบัน พบว่าเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2020 ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลอย่าง Deutsche Commercial Internet Exchange สามารถทำสถิติโลกครั้งใหม่{{Footnote.N58296}} ที่แฟรงเฟิร์ต โดยสามารถรองรับ throughput ได้ถึง 9.1 เทราบิตต่อวินาที Vodafone เองก็ระบุว่ามีอัตราการสื่อสารข้อมูลเพิ่มมากขึ้นถึง 50%{{Footnote.N58297}} ในบางพื้นที่ โดยจะมีการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต BT ช่วยแก้ไขข้อจำกัดของข้อมูลผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ในบ้าน{{Footnote.N58298}} ทำให้สามารถทำงาน เรียนรู้และใช้งานในด้านต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายและไม่ติดขัด ผลการตรวจสอบ ‘ความสมบูรณ์ของระบบอินเทอร์เน็ต’ ของเราไม่พบปัญหาการล่มของระบบที่เพิ่มมากขึ้น{{Footnote.N58299}} ซึ่งสวนทางกับระดับการสื่อสารข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ แม้จะคาดการณ์กันว่าจะมีการสื่อสารและใช้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อเนื่องทุกปี แต่อีกประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือความต้องการด้านการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลทั่วโลกที่เชื่อว่าจะลดลงตามผลการสำรวจโดย International Energy Agency - IEA{{Footnote.N58300}}. ทั้งนี้ก็เนื่องจากการบูรณาการและปรับปรุงประสิทธิภาพของส่วนการทำงานต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบหล่อเย็น และการเกิดขึ้นของศูนย์ข้อมูลไฮเปอร์สเกลใหม่ ๆ ที่มีการใช้พลังงานทดแทนแบบ 100%

ระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) ที่มีบทบาทสำคัญด้านการวิจัยเพื่อยุติปัญหาไวรัส

ช่องติดตั้งไดร์ฟเซิร์ฟเวอร์ในแร็คพร้อม LED สีเขียว

ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญประการที่สองคือความเร็วและกำลังการประมวลผล และนี่คือโอกาสของ HPC (ระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง) ข้อมูลวิจัยวัคซีนและการรักษาถือเป็นฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก สถาบันวิจัยและบริษัทยาต่าง ๆ เลือกใช้ระบบ HPC อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกเพื่อรองรับการจำลองสถานการณ์และการคำนวณต่าง ๆ เช่น ในด้านระบาดวิทยาหรือชีวสารสนเทศ ระบบดังกล่าวช่วยลดเวลาในการพัฒนายาชนิดใหม่ลงได้อย่างมาก

Coronavirus High-Performance Computing Consortium{{Footnote.N58301}} ได้มีการประสานความร่วมมือกับกลุ่มผู้นำด้านเทคโนโลยี ภาครัฐและกลุ่มวิชาการต่าง ๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาผ่านเครือข่ายข้อมูลความเร็วประมวลผลกว่า 330 เพทาฟลอป ติดตั้งแกนประมวลผลกลางกว่า 775,000 และชุดประมวลผลกราฟิก 34,000 หมื่นชุด เพื่อพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับไวรัสและกำหนดแนวทางการรักษาที่สามารถต่อยอดเป็นวัคซีน ระบบคำนวณแบบทศนิยมกว่า 330 รายการจึงถูกคำนวณในทุก ๆ หนึ่งวินาที นี่เป็นอีกตัวอย่างที่สำคัญของการผลักดันความร่วมมือเพื่อเป้าหมายอันดีเหนือการแข่งขันระหว่างผู้ร่วมดำเนินงานในกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น IBM, Amazon, Microsoft HPE และ Google

แม้ว่านี่จะเป็นกระบวนการที่เรามองไม่เห็น แต่ศูนย์ข้อมูลถือได้ว่าเป็นทั้ง ‘ขุมพลัง’ สำหรับการประมวลผลผ่านคลาวด์และจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อบูรณาการส่วนการทำงานต่าง ๆ ให้เกิดความเร็ว ยืดหยุ่นและพร้อมรองรับการใช้งานอย่างเต็มที่ ผู้ให้บริการมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อปรับลดความเสี่ยงจากปัญหาในการทำงานและความไม่ต่อเนื่องในการให้บริการสำหรับกลุ่มผู้ใช้ต่าง ๆ Gartner ประมาณการไว้ว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจากระบบ IT ล่มอยู่ที่ประมาณ $5,600 ต่อนาที จึงไม่น่าแปลกว่านี่คือข้อกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอันดับต้น ๆ สำหรับกลุ่มผู้ดูแลด้านระบบ IT และในลักษณะเดียวกัน กลุ่มผู้บริโภคเองก็มีการสืบค้นข้อมูลสินค้าในครัวเรือนที่มีจำหน่ายหลังจากกระดาษชำระถูกกักตุนอย่างหนัก{{Footnote.N58302}} ทั่วโลก ดังนั้นลูกค้ากลุ่มศูนย์ข้อมูลจึงต้องสามารถรองรับส่วนการใช้งานและแบนด์วิธที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อจัดการกับความต้องการในปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเพื่อรองรับความต่อเนื่องในการให้บริการไปพร้อม ๆ กัน

การจัดการแอพพลิเคชั่น “เสมือนจริง”

ภาพเมืองและไมโครชิปที่กำลังเรืองแสง

ความโปร่งใสคือสิ่งสำคัญในการให้ความมั่นใจละสร้างความเชื่อมั่นของผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลเพื่อการจัดการและการกำหนดลำดับความสำคัญของส่วนบริการคลาวด์ใหม่ ๆ เพื่อปกป้องส่วนการทำงานที่สำคัญ{{Footnote.N58303}} นอกจากนี้ลูกค้าเดิมก็จะต้องได้รับการดูแลเช่นเดิม ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จึงมีการกำหนดมารการระยะสั้นต่าง ๆ ขึ้น เช่น การจำกัดแบนด์วิธตามแพคเกจการใช้งาน สำหรับลูกค้ากลุ่ม SME หลาย ๆ รายที่สัดส่วนการสื่อสารและ throughput ผ่านเครือข่ายมีการเปลี่ยนแปลงแบบที่ไม่คาดคิด ความสามารถในการเพิ่มโหลดให้กับระบบและเครือข่ายเกินกว่าระดับ CDR ในปัจจุบันไปอยู่ที่ค่า throughput สูงสุดของพอร์ตโดยไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดจะสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมากในการให้ความมั่นใจด้านความพร้อมของระบบให้บริการทางธุรกิจโดยเฉพาะในช่วงเวลาพิเศษเช่นนี้

การเตรียมพร้อมสำหรับความต่อเนื่องทางธุรกิจให้กับลูกค้าและพันธมิตรในการทำงานยังแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการดูแลด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างจริงจังสำหรับตัวศูนย์ข้อมูลเอง รวมไปถึงการปกป้องพนักงาน พันธมิตร และซัพพลายเออร์ต่าง ๆ หนึ่งในข้อพิจารณาที่สำคัญคือการแบ่งปันองค์ความรู้ โดยเฉพาะในกระบวนการเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ ด้านงานทรัพยากรมนุษย์และเครือข่ายการจัดหาวัตถุดิบ และยังรวมไปถึงการสื่อสารแบบสองทางกับภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่นในสหราชอาณาจักร DCMS Data Infrastructure Resilience Team ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่สำคัญใด ๆ จะมีการพิจารณาตัวแปรที่เกิดจากศูนย์ข้อมูลร่วมด้วย

แนวทางหลัก ๆ คือการจำกัดช่องทางที่จะเป็นโอกาสในการติดเชื้อและการปิดล็อคพื้นที่ ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดเขตหวงห้าม และการจัดทำบัญชีรายชื่อแยกเฉพาะ และการปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะทางสังคมอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังมีการกำหนดประเด็นด้านการให้บริการต่าง ๆ เมื่อพิจารณาจากการการลดจำนวนบุคลากรและปัญหาการเจ็บป่วยหรือการกักตัวของบุคลากรสำคัญทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนบุคลากรเฉพาะด้านที่จำเป็น

การตรวจสอบพื้นที่อย่างละเอียดถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดความเสี่ยง และความสามารถในการบริหารจัดการจากระยะไกลถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง การผสมผสานเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ บริการรองรับเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ‘Smart Hands’{{Footnote.N58304}} และระบบติดตามการทำงานในส่วนการทำงานที่สำคัญ ๆ โดยเฉพาะระบบจ่ายไฟและตรวจสอบอุณหภูมิ ทำให้การตรวจสอบและควบคุมจากระยะไกลเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้แนวทางดังกล่าว ระบบจึงต้องพร้อมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับสูง และมีการคาดการณ์ขีดความสามารถในการทำงานเผื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น นอกเหนือจากการตอบสนองเงื่อนไขเกี่ยวกับขีดความสามารถในการประมวลผล ความเร็ว เสถียรภาพในการทำงานและกำลังการประมวลผล โคโรน่าไวรัสยังทำให้เราได้เรียนรู้ว่าศูนย์ข้อมูลมีความสามารถในการบริหารจัดการจากระยะไกลได้ดีแค่ไหน ยิ่งไปกว่านั้นคือ ไม่ว่าจะในการทำงาน การเรียน การสื่อสารและกิจกรรมบันเทิง หรือในการศึกษาเกี่ยวกับไวรัสและแนวทางการรักษา บทบาทของศูนย์ข้อมูลได้กลายเป็นที่จับตามองมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

#KingstonIsWithYou

Ask an Expert

Kingston ให้โอกาสแก่คุณในการแสดงความเห็นโดยอิสระเกี่ยวกับโครงร่างการทำงานของคุณในปัจจุบันหรือแผนการใช้งานในอนาคตที่เหมาะสมสำหรับหน่วยงานของคุณ

SSD สำหรับองค์กร

เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับข้อดีต่าง ๆ ของ Enterprise SSD สำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลของคุณ และ SSD ที่เหมาะกับการการทำงานของคุณที่ต้องการความสมดุลระหว่างงานอ่านและเขียนข้อมูลแบบสุ่มในระดับสูงและ IOPS ในระดับที่มีเสถียรภาพเต็มที่

ถามผู้เชี่ยวชาญระบบ SSD

หน่วยความจำเซิร์ฟเวอร์

เราพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับประโยชน์ในการกำหนดโครงร่างการทำงานแบบต่าง ๆ ของเซิร์ฟเวอร์ของคุณเพื่อให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและมีความจุสูงสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดโครงร่างการทำงานมีความรู้และแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยคุณในการอัพเกรดหน่วยความจำอย่างถูกต้อง

สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านหน่วยความจำ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง