เมมโมรี่การ์ด

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการกำหนดชื่อและติดฉลากกำกับการ์ด SD และ microSD

เมมโมรี่การ์ด

SD Association เป็นผู้รับผิดชอบในการทำการตลาดและฉลากกำกับการจัดประเภทการ์ด คุณสมบัติการทำงานและรายละเอียดทางเทคนิคต่าง ๆ มีการจัดแยกประเภทการ์ดไว้มากมายที่มีการกำกับไว้ที่บรรจุภัณฑ์และตัวเมมโมรี่การ์ดเอง และบางครั้งอาจทำให้เกิดความสับสนกับศัพท์เฉพาะเหล่านี้ว่าหมายถึงอะไรกันแน่

หนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับฉลากระบุประเภทเมมโมรี่การ์ดคือคลาสความเร็ว โดยส่วนใหญ่จะมีการติดฉลากระบุรายละเอียดเป็นสองส่วน ซึ่งทำให้หลายคนเกิดความสับสน โดยส่วนใหญ่การ์ดที่มีคลาสความเร็วเริ่มด้วย C2, C4, C6 และ C10 หมายถึงมีความเร็วในการเขียนขั้นต่ำที่ 2MB/s, 4MB/s, 6MB/s และ 10 MB/s และจะมีการแยกประเภท UHS Speed Class ไว้โดยแสดงด้วยสัญลักษณ์ U1 หรือ U3 เพื่อระบุความเร็วในการเขียนขั้นต่ำที่ 10MB/s และ 30MB/s

เนื่องจาก SD Association มีการเพิ่มคลาสความเร็วใหม่ ๆ เข้ามาอยู่ตลอดเวลาพร้อมวิธีการตั้งชื่อแบบใหม่ ผู้ผลิตจึงเริ่มสับเปลี่ยนชื่อที่ใช้ระบุคลาสไปมาบนเมมโมรี่การ์ดซึ่งทำให้การทำความเข้าใจเป็นเรื่องยาก เช่น การ์ดบางตัวอาจระบุเป็น C10 และ U1 แม้ว่าจะหมายถึงคลาสเดียวกันก็ตาม ผู้ผลิตกล้องเองอาจกำหนดให้กล้องต้องใช้การ์ด C10 SD แต่เนื่องจาก SD Association เปลี่ยนมาใช้ UHS Speed Class และเริ่มติดฉลากการ์ดเป็น U1 ทำให้มีการ์ด SD ที่ถูกระบุว่าเป็นทั้งคลาส C10 และ U1 เกิดขึ้นมา

ที่แย่ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ผลิตการ์ดบางรายเห็นว่าอาจจำเป็นต้องมีการแจ้งมาตรฐานคลาสความเร็วเดิมร่วมกับความเร็วใหม่ไปพร้อม ๆ กันแม้ว่าความเร็วการ์ดของตนเองจะเหนือกว่าคลาสเดิมอยู่มาก ผลก็คือ การ์ดอาจมีการระบุความเร็วทั้ง C10 และ U3 ถ้า U3 หมายถึงความเร็วในการเขียนที่ 30MB/s และ C10 หมายถึงความเร็วในการเขียนข้อมูลที่ 10MB/s ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแจ้งคลาสความเร็วทั้งสองตัวเนื่องจาก U3 ก็ระบุชัดเจนอยู่แล้วว่าทำความเร็วได้มากกว่า 10MB/s Video Speed Class ล่าสุดถูกกำหนดขึ้นสำหรับวิดีโอความละเอียดสูง เช่น 4K หรือ 8K แต่การ์ด V30 ก็เหมือนกันกับการ์ด U3 เนื่องจากรองรับความเร็วในการเขียนข้อมูลขั้นต่ำที่ 30MB/s ทั้งคู่

Stack of SD cards

เนื่องจากโครงสร้างการกำหนดชื่อที่มีอยู่มากมาย จึงเป็นภาระของทั้งผู้ผลิตการ์ดและอุปกรณ์ในการสร้างความมั่นใจว่าผู้บริโภคจะสามารถเลือกสินค้าได้ตรงตามสเปคที่ต้องการ ผลก็คือมีการกำกับเมมโมรี่การ์ดเป็นทั้ง Class-C, UHS และ Video Standard Speed เพื่อให้ผู้ใช้ทั่ว ๆ ไปที่ไม่คุ้นเคยกับการจัดคลาสความเร็วหรือฉลากกำกับข้อมูลจำเพาะสามารถเข้าใจได้ง่าย

การ์ดที่กำกับไว้โดยเฉพาะเป็น UHS Speed Class ใช้ระบุบัสอินเทอร์เฟส UHS ที่กำกับด้วยตัวเลขโรมันได้แก่ “I” หรือ “II” โดยปกติจะเขียนเป็น “UHS-I” และ “UHS-II” แต่ผู้ผลิตการ์ดหลายรายอาจไม่ได้ระบุข้อความ UHS ตามมาตรฐานการแสดงโลโก้ของ SDA โดยระบุเพียงแค่ “I” หรือ “II” เพื่อแจ้งให้ทราบคลาส UHS สำหรับอินเทอร์เฟซของการ์ด

นอกจากนี้ยังมีการแยกประเภทใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบ Adopted Storage Device ของ Android App Performance Class เป็นมาตรฐานรับรองความเร็วแบบสุ่มขั้นต่ำและความเร็วแบบเขียนอ่านตามลำดับเพื่อรองรับเวลาการทำงานและเวลาในการจัดเก็บข้อมูลภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยเป็นการรองรับการทำงานเหล่านี้พร้อม ๆ กันทั้งสำหรับการจัดเก็บภาพ วิดีโอ เพลง ไฟล์ข้อมูลและข้อมูลที่สำคัญอื่น ๆ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้กับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เล่นเกมแบบพกพาที่ใช้แอพพลิเคชั่นที่ต้องมีการอ่านและเขียนข้อมูลแบบสุ่ม พร้อม ๆ กับการใช้งานเพื่อจัดเก็บข้อมูล

ตารางข้อมูลจำเพาะ Application Performance Card
Application Performance Class ภาพประกอบ อ่านข้อมูลแบบสุ่มขั้นต่ำ เขียนข้อมูลแบบสุ่มขั้นต่ำ เขียนข้อมูลตามลำดับต่อเนื่องขั้นต่ำ
Class 1 (A1) 1500 IOPS 500 IOPS 10M ไบต์/วิ
Class 2 (A2) 4000 IOPS 2000 IOPS 10M ไบต์/วิ

App Performance Class แบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ A1 และ A2 A1 จะมีความเร็วในการอ่านแบบสุ่มขั้นต่ำที่ 1500 IOPS และความเร็วในการเขียนสุ่มขั้นต่ำที่ 500 IOPS ในขณะที่ A2 จะมีความเร็วในการอ่านแบบสุ่มขั้นต่ำที่ 4000 IOPS และความเร็วในการเขียนแบบสุ่มขั้นต่ำที่ 2000 IOPS ทั้ง A1 และ A2 มีความเร็วในการเขียนต่อเนื่องขั้นต่ำที่ 10MB/s App Performance Class เป็นมาตรฐานความเร็วที่จะต้องพิจารณาขณะวางแผนการติดตั้งแอพ Android กับการ์ด microSD

#KingstonIsWithYou

บทความที่เกี่ยวข้อง