ประเภทฟอร์มแฟคเตอร์ SSD

ประเภทฟอร์มแฟคเตอร์ SSD

ภาพ SSD พร้อมเส้นเชื่อมต่อแผงวงจรจากด้านข้าง

คุณต้องการเพิ่มความเร็วให้กับเครื่องโดยตัดสินใจติดตั้ง SSD ตัวใหม่ คุณจะเลือกแบบไหนดี ข้อพิจารณาหนึ่งในการตัดสินใจของคุณคือประเภทการเชื่อมต่อสื่อบันทึกข้อมูลของเครื่องและฟอร์มแฟคเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีผลต่อรูปทรงและขนาดของ SSD ไดร์ฟ SSD ที่คุณเลือกมีทั้งอินเทอร์เฟซ SATA หรือ NVMe (ผ่าน PCIe)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา SATA เป็นอินเทอร์เฟซที่ใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด ในขณะที่ NVMe ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ SSD เพื่อแทนที่ SATA ซึ่งแต่เดิมออกแบบมาสำหรับ HDD โดยมีการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับ NVMe NVMe SSD รองรับฟอร์มแฟคเตอร์ที่หลากหลาย ทำให้สามารถใช้งานได้กับแฟลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลแบบต่าง ๆ ทั้งจากเซิร์ฟเวอร์ไปจนถึงอาร์เรย์แฟลช NVMe ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานทางอุตสาหกรรมในที่สุด ทั้งในเครื่องเล่นเกม โน้ตบุ๊กและเดสก์ทอปรุ่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ใช้ปลายทางหรือกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ หรือแม้แต่ศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด

Kingston SSD ในฟอร์มแฟคเตอร์รูปแบบต่าง ๆ

ฟอร์มแฟคเตอร์ SSD: 2.5 นิ้ว, M.2, mSATA และ U.2

2.5 นิ้ว
ขณะเลือกซื้อ SSD สิ่งแรกที่คุณจะต้องทราบคือฟอร์มแฟคเตอร์ที่สามารถติดตั้งได้กับเครื่องของคุณ SSD มีหลายขนาดและรูปทรง SSD ขนาด 2.5 นิ้วเป็นแบบที่พบบ่อยที่สุดและใช้ติดตั้งในโน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปส่วนใหญ่ โดยจะมีรูปทรงคล้ายกับฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) แบบเดิม ๆ และเชื่อมต่อผ่านสาย SATA ดังนั้นการทำงานจะคล้ายกับไดร์ฟแบบเดิม ๆ มาก

M.2
ฟอร์มแฟคเตอร์อีกแบบคือ M.2 ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานสื่อบันทึกข้อมูลสำหรับโน้ตบุ๊กแบบบางรุ่นใหม่ ๆ ไดร์ฟมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับหมากฝรั่งแท่ง และติดตั้งได้ง่ายมาก โดยสามารถกดประกอบเข้ากับเมนบอร์ดได้ทันที ไดร์ฟมีจำหน่ายหลายช่วงความยาว รองรับความจุของไดร์ฟ SSD ที่แตกต่างกัน ยิ่งไดร์ฟยาวเท่าไร แสดงว่ามีแฟลชชิป NAND ติดตั้งไว้มากตามไปด้วยและมีความจุที่มากกว่า

mSATA
mSATA หรือ mini-SATA เป็น SATA SSD เวอร์ชั่นจิ๋ว โดยอาศัยฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กอย่าง M.2 แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ ไดร์ฟ M.2 รองรับทั้งอินเทอร์เฟซ SATA และ PCIe ในขณะที่ mSATA จะรองรับเฉพาะ SATA เท่านั้น ฟอร์มแฟคเตอร์นี้ออกแบบมาสำหรับเครื่องขนาดเล็กที่มีพื้นที่จำกัด

U.2
ตัวสุดท้ายคือ U.2 ซึ่งจะคล้าย ๆ กับไดร์ฟ 2.5 นิ้วแต่จะหนากว่าเล็กน้อย โดยอาศัยหัวต่อและคอยส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เฟซ PCIe เทคโนโลยี U.2 SSD โดยปกติสงวนไว้สำหรับเวิร์คสเตชั่นระดับสูง เซิร์ฟเวอร์และส่วนการใช้งานระดับองค์กรที่ต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยจะรองรับอุณหภูมิได้สูงกว่า และเกิดความร้อนในการโอนข้อมูลน้อยกว่า M.2

ภาพหัวต่อ M.2 ระยะใกล้

อินเทอร์เฟซ: SATA vs. NVMe

อินเทอร์เฟซการสื่อสารเป็นวิธีการที่คอมพิวเตอร์ของคุณใช้เพื่อสื่อสารกับ PC ของคุณ โดยมีจำหน่ายสองประเภทได้แก่ SATA และ PCIe NVMe อินเทอร์เฟซ SATA จะมีราคาประหยัดกว่า และพบได้มากกว่า รวมทั้งมีประสิทธิภาพที่ดีสำหรับการใช้งานทั่ว ๆ ไป PCIe เป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานสำหรับ NVMe ที่มีความเร็วมากกว่า SATA SSD สามถึงสิบเท่า M.2 SSD ระดับสูงส่วนใหญ่ที่เปิดตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารองรับ NVMe (แต่ไม่ใช่ M.2 ทุกตัวที่เป็น NVMe บางส่วนรองรับ SATA เท่านั้น) NVMe ทำงานได้เร็วกว่ามากเนื่องจากมีแบนด์วิธที่สูงกว่า SATA ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสำหรับแอพพลิเคชั่นที่ใช้ทรัพยากรสูงดีกว่า สำหรับงานทั่ว ๆ ไปที่มีภาระมาก เช่น การตัดต่อวิดีโอ หรือการโอนไฟล์ขนาดใหญ่ NVMe SSD อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

หลังจากที่คุณเข้าใจความแตกต่างระหว่างฟอร์มแฟคเตอร์ต่าง ๆ ของ SSD และอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อแล้ว คุณก็จะสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบด้านมากขึ้น พิจารณาโครงสร้างของอุปกรณ์ที่คุณกำลังอัพเกรดให้ดีขณะเลือกซื้อ SSD ตัวใหม่ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ก เดสก์ทอปหรือเซิร์ฟเวอร์ SSD สำหรับอัพเกรดจะช่วยให้คุณสัมผัสได้ถึงความแตกต่างจากดิสก์ไดร์ฟจากหมุนแบบเดิม ๆ เนื่องจากทำงานได้เร็วกว่า เล็กกว่าและเกิดความร้อนน้อยกว่า และสามารถทนต่อการกระแทกหรือตกหล่นได้ดีกว่า กรุณาศึกษาคู่มือผู้ใช้สำหรับเมนบอร์ด/เครื่องของคุณเพื่อระบุฟอร์มแฟคเตอร์ใช้งานที่เหมาะกับอุปกรณ์ของคุณมากที่สุด

#KingstonIsWithYou

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง