ดิสก์ RAM คือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเสมือนที่สามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้ในลักษณะเดียวกันกับ HDD, SSD หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแฟลชอื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ ดิสก์ RAM เกิดขึ้นจากการแบ่งพาร์ติชันความจุจากหน่วยความจำเครื่อง (หรือที่รู้จักกันในชื่อ RAM) โดยอาศัยซอฟต์แวร์ ซึ่งช่วยให้ประสิทธิภาพด้าน I/O (อ่านและเขียน) เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก และเร็วกว่า SSD ที่เร็วที่สุดในปัจจุบันเป็นจำนวนหลายเท่า เนื่องจากมีแบนด์วิธที่สูงกว่าและค่าหน่วงเวลาที่ต่ำมาก
การใช้หน่วยความจำเครื่องเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีประการหนึ่งคือประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แอปพลิเคชันที่ต้องใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเป็นหลักจะได้ประโยชน์อย่างมากจากความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลขั้นสุดนี้ นอกจากนี้ค่าหน่วงเวลาของพื้นบันทึกข้อมูลเองก็จะไม่เป็นข้อจำกัดอีกต่อไป
โดยมีข้อเสียคือหน่วยความจำเครื่องจะเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีไฟเลี้ยงจ่ายไปที่ RAM เพื่อไม่ให้ข้อมูลหายไป ขณะปิดเครื่อง (หรือในกรณีที่ไฟฟ้าดับ) ไฟล์หรือแอปพลิเคชันในดิสก์ RAM จะถูกลบทิ้ง การสำรองข้อมูลจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งหากต้องการใช้ดิสก์ RAM แทนไดรฟ์สำหรับใช้ติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ ดิสก์ RAM หลาย ๆ ตัวจะมีฟังก์ชั่นการสำรองข้อมูลโดยจะมีการจัดทำไฟล์อิมเมจข้อมูลในไดรฟ์ ทั้งนี้จะต้องใช้พื้นที่ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลตามปกติ
ข้อเสียอีกประการคือโปรเซสเซอร์จะไม่สามารถใช้ความจุของ RAM ที่มีการแบ่งพาร์ติชันสำหรับจัดเก็บข้อมูลเพื่อการประมวลผลของระบบได้อีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ได้เป็นปัญหาที่้ร้ายแรงนักเนื่องจาก PC และเวิร์คสเตชันในปัจจุบันรองรับหน่วยความจำที่สูงพอสมควร ชิปเซ็ต Intel และ AMD รุ่นล่าสุดแบบสี่ซ็อคเก็ตที่รองรับ DDR5 สามารถรองรับหน่วยความจำได้สูงสุด 192GB ส่วนเวิร์คสเตชันรองรับหน่วยความจำสูงสุด 2TB! และแอปพลิเคชันส่วนใหญ่เองก็จะไม่ได้ใช้หน่วยความจำเครื่องทั้งหมดนั้น ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้งานเป็นดิสก์ RAM