คำศัพท์
ความจุ
จำนวนเซลล์หน่วยความจำข้อมูลที่มีในโมดูลแสดงเป็นกิกะไบต์ (GB) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายเป็นชุด ความจุที่แจ้งเป็นความจุรวมของโมดูลทั้งหมดที่จัดจำหน่ายในชุดเดียวกัน
ค่าหน่วงเวลา CAS
เลขมาตรฐานกำหนดสำเร็จระบุจำนวนรอบสัญญาณนาฬิกาสำหรับอ่าน/เขียนข้อมูลไปกลับจากหน่วยความจำและชุดควบคุมหน่วยความจำ หลังจากมีการโหลดคำสั่งอ่าน/เขียนข้อมูลและที่อยู่ของแถว/คอลัมน์ ค่าหน่วงเวลา CAS ใช้ระบุเวลารอจนกว่าข้อมูลจะพร้อมใช้งาน
DDR4
DDR (Double Data Rate) Synchronous Dynamic Random Access Memory (SDRAM) เทคโนโลยีหน่วยความจำรุ่นที่สี่ มักเรียกเป็น “DDR4” โมดูลหน่วยความจำ DDR4 ไม่รองรับ DDR SDRAM ก่อนหน้าเนื่องจากใช้แรงดันไฟน้อยกว่า (1.2V) จำนวนขาต่อไม่เท่ากันและเทคโนโลยีชิปหน่วยความจำที่ต่างกัน
DDR5
DDR (Double Data Rate) Synchronous Dynamic Random Access Memory (SDRAM) เทคโนโลยีหน่วยความจำรุ่นที่ห้า มักเรียกเป็น “DDR5” โมดูลหน่วยความจำ DDR5 ไม่รองรับ DDR SDRAM รุ่นก่อนหน้าเนื่องจากใช้แรงดันไฟน้อยกว่า (1.1V), มีจำนวนขาต่อไม่เท่ากัน และใช้เทคโนโลยีชิปหน่วยความจำที่ต่างกัน
ประเภท DIMM
UDIMM (non-ECC Unbuffered Dual In-Line Memory Module) หน่วยความจำแบบยาวที่ช่วงความกว้างข้อมูล x64 ส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องเดสก์ทอปที่ไม่ต้องอาศัยระบบแก้ไขข้อผิดพลาด และมีข้อจำกัดความจุของ DIMM
SODIMM (Small Outline Dual In-Line Memory Module) หน่วยความจำลดขนาดสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น โน้ตบุ๊ก ไมโครเซิร์ฟเวอร์ เครื่องพิมพ์หรือเราเตอร์
กิกะบิต (Gb)
บิตคือหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในการประมวลผลและแสดงค่าเป็น 1 หรือ 0 (เปิด/ปิด) กิกะบิต (Gb) คือ 1 พันล้านบิต (หรือ 109) ตามระบบของ International System of Units (SI) สำหรับหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ Gb (หรือ Gbit) โดยปกติใช้เพื่อแสดงความหนาแน่นของส่วนประกอบ DRAM หนึ่งตัว
กิกะไบต์ (GB)
หนึ่งไบต์ประกอบด้วย 8 บิต กิกะไบต์ (GB) เท่ากับ 1 พันล้านไบต์ (หรือ 109) ตามระบบของ International System of Units (SI) สำหรับหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ GB จะใช้เพื่อแสดงความจุของข้อมูลทั้งหมดของโมดูลหน่วยความจำ หรือกลุ่มโมดูลหน่วยความจำที่ติดตั้งเข้าไว้ด้วยกันเป็นหน่วยความจำรวมของเครื่อง
ชุดผลิตภัณฑ์
เลขชิ้นส่วนที่ประกอบไปด้วยหน่วยความจำหลายแถว โดยปกติเป็นแบบคู่ สามแถวหรือสี่แถว เช่น K2 = 2 DIMM ซึ่งจำหน่ายเป็นชุดและระบุความจุเป็นความจุรวมกัน
ความเร็ว (เทียบได้กับความถี่สัญญาณนาฬิกา)
อัตราข้อมูลหรือความเร็วสัญญาณนาฬิกาใช้งานที่หน่วยความจำรองรับ วัดเป็น Mhz (เมกะเฮิร์ตซ์) หรือ Mt/s (เมกะทรานสเฟอร์ต่อวินาที) ยิ่งความเร็วสูงเท่าไร ยิ่งถ่ายโอนข้อมูลต่อวินาทีได้มากเท่านั้น
Rank
Rank หมายถึงบล็อกข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้บนโมดูลหน่วยความจำ สำหรับ DDR2, DDR3 และ DDR4 บล็อคข้อมูลเหล่านี้จะมีความกว้าง 64 บิต (x64) และ 8 บิตสำหรับ ECC (x72) และโมดูล DDR5 ก็มีความกว้าง 64 บิตต่อ Rank เช่นกัน แต่หากมีฟีเจอร์ ECC บล็อกข้อมูลจะกว้าง 80 บิตต่อ Rank (x80) สามารถสร้างโมดูลเป็น Single Rank (1R), Dual Rank (2R), Quad Rank (4R) หรือ Octal Rank (8R) ได้ ซึ่งโดยปกติจำนวน Rank จะเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับความจุของโมดูลที่สูงขึ้นได้
ช่องสัญญาณของหน่วยความจำ
ช่องสัญญาณของหน่วยความจำคือเส้นทางการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโมดูลหน่วยความจำและตัวควบคุมหน่วยความจำ (โดยทั่วไปจะพบภายในโปรเซสเซอร์) ระบบประมวลผลส่วนใหญ่ (พีซี แล็ปท็อป เซิร์ฟเวอร์) มีสถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบหลายช่องสัญญาณ ซึ่งจะรวมช่องสัญญาณเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยความจำ สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Dual Channel หมายความว่าหากมีการติดตั้งโมดูลที่เหมือนกันเป็นคู่ จำนวนแบนด์วิดท์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับตัวควบคุมหน่วยความจำก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วย