
ทุก ๆ ปีจะมีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ออกสู่ท้องตลาดพร้อมกับคุณสมบัติและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขยายขีดความสามารถในการทำงาน ข้อแตกต่างหลัก ๆ ของคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นจะสังเกตได้จากชื่อและหมายเลขของโปรเซสเซอร์และชิปเซ็ต โปรเซสเซอร์หรือที่เรียกกันว่า CPU นั้นเปรียบได้กับสมองของเครื่องพีซี ชิปเซ็ตก็คือชิปจำนวนหนึ่งที่ปกติแล้วจะมาเป็นคู่เรียกว่า Northbridge และ Southbridge ซึ่งทำหน้าที่ช่วยให้โปรเซสเซอร์เชื่อมต่อกับส่วนประกอบอื่น ๆ ภายในระบบ โดยทั่วไปแล้วโปรเซสเซอร์และชิปเซ็ตจะเชื่อมต่อกัน (แต่ก็เชื่อมต่อกับส่วนประกอบอื่นด้วย) ดังนั้น คุณจึงควรทำความเข้าใจความแตกต่างของชื่อและตัวเลขต่าง ๆ เพื่อจะได้เลือกคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด
ภายใน CPU ประกอบด้วยแกนประมวลผลหลายแกน ชุดควบคุมหน่วยความจำ หน่วยความจำแคช และคำสั่งจำนวนหนึ่งชุดที่มอบพลังในการประมวลผลข้อมูลดิบสำหรับจัดการงานประมวลผล รวมถึง Northbridge ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ผลิตเริ่มจะติดตั้ง Northbridge ไว้ภายใน CPU รวมถึงชุดควบคุมและส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ ด้วย ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลกราฟิกได้ในตัว จึงเหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถติดตั้งการ์ดจอแยกแบบเก่าที่มีขนาดใหญ่ เช่น โน้ตบุ๊กหรือเดสก์ท็อปที่เพรียวบางและมีขนาดเล็ก
แล้วชื่อของโปรเซสเซอร์ Intel® หมายความว่าอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว ชื่อของโปรเซสเซอร์ Intel แบ่งออกเป็นห้าส่วน ได้แก่ ชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์ หมายเลขโปรเซสเซอร์/ระดับโปรเซสเซอร์ เลขรุ่น หมายเลข SKU และอักขระพ่วงท้ายสำหรับบอกไลน์ผลิตภัณฑ์
ชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์ – ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Intel ได้ปรับเปลี่ยนชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์เล็กน้อย (เช่น รวมกลุ่มผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์อย่าง Pentium® และ Celeron® เข้าด้วยกันเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ “Intel Processor” เดียว) และสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีขีดความสามารถในการประมวลผลขั้นสูง เช่น Neural Processing Cores for Artificial Intelligence
- Intel Processor – กลุ่มผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์ที่เน้นความคุ้มค่า มีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลทั่วไป/ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับราคา
- Intel Core™ – ประมวลผลได้เร็วขึ้นและมีคุณสมบัติเพิ่มเติมหลายอย่าง กลุ่มเป้าหมายคือผู้ใช้ส่วนใหญ่
- Intel Core™ Ultra – รวมถึง NPU ด้วย เหมาะกับงานด้าน AI และอาจมาพร้อมการ์ดจอ Intel Arc
- Intel Xeon® – ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจำเป็นสำหรับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชัน ไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป
หมายเลขโปรเซสเซอร์/ระดับโปรเซสเซอร์ – สำหรับเวิร์กสเตชันและไคลเอนท์โปรเซสเซอร์ Intel ใช้หมายเลขโปรเซสเซอร์ที่แบ่งออกเป็นหลายระดับการใช้งาน โดยแบ่งประสิทธิภาพเป็นระดับเริ่มต้น ระดับทั่วไป หรือขั้นสูง ตัวเลข 3, 5, 7 หรือ 9 จะระบุไว้หลังชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์ ส่วนใหญ่แล้ว ยิ่งตัวเลขสูง ประสิทธิภาพก็จะสูงขึ้นด้วย (และอาจจะมีคุณสมบัติดีขึ้น) รหัสเหล่านี้จะใช้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ Core และ Xeon 6 เท่านั้น
ตัวอย่าง:
Intel® Core™ i7 14700KS
Intel® Core™ Ultra 5 Processor 245KF
Intel® Xeon® w9-3595X
Intel® Xeon® 6960P (Xeon 6th Gen)
สำหรับ Xeon 5th Gen และรุ่นเก่ากว่า ระดับชั้นของโปรเซสเซอร์สังเกตได้จากหลักแรกของตัวเลขสี่หลัก:
ระดับชั้นของโปรเซสเซอร์ Xeon | |
8 หรือ 9 | Platinum |
5 หรือ 6 | Gold |
4 | Silver |
3 | Bronze |
ตัวอย่าง:
Intel® Xeon® Platinum 8558P (Xeon 5th Gen)
เลขรุ่น – สำหรับโปรเซสเซอร์ Intel Core, Core Ultra, และ Xeon 5th Gen รวมถึงผลิตภัณฑ์รุ่นเก่ากว่า ตัวเลขหลักแรกที่ต่อท้ายหมายเลขโปรเซสเซอร์หรือระดับโปรเซสเซอร์ จะเป็นข้อมูลบอกรุ่นของผลิตภัณฑ์ สำหรับ Xeon 6 เป็นต้นไป รุ่นของผลิตภัณฑ์สังเกตได้จากหลักแรกของตัวเลขสี่หลัก Intel Processor และ Intel Core i3 N-series จะไม่ระบุเลขรุ่น
ตัวอย่าง:
Intel® Core™ i7 14700KS
Intel® Core™ Ultra 5 Processor 245KF
Intel® Xeon® w9-3595X
Intel® Xeon® Platinum 8558P (Xeon 5th Gen)
Intel® Xeon® 6960P (Xeon 6th Gen)
หมายเลข SKU – สำหรับโปรเซสเซอร์ Intel Core, Core Ultra และ Xeon 5th Gen และผลิตภัณฑ์รุ่นเก่ากว่า หมายเลข SKU จะหลังเลขรุ่น หมายเลข SKU ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มโปรเซสเซอร์และรุ่นของผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งหมายเลข SKU สูงเท่าไหร่ ก็หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณสมบัติมากขึ้นเท่านั้น หมายเหตุ: หมายเลขรุ่นของโปรเซสเซอร์แต่ละกลุ่มไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน (เช่น หมายเลขรุ่นของโปรเซสเซอร์ Core ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหมายเลขรุ่นของผลิตภัณฑ์ Processor หรือ Xeon )
ตัวอย่าง:
Intel® Core™ i7 14700KS
Intel® Core™ Ultra 5 Processor 245KF
Intel® Xeon® w9-3595X
Intel® Xeon® Platinum 8558P (Xeon 5th Gen)
Intel® Xeon® 6960P (Xeon 6th Gen)
อักขระพ่วงท้ายสำหรับบอกกลุ่มผลิตภัณฑ์ – ให้ข้อมูลว่าโปรเซสเซอร์นั้นผลิตมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด อย่างไรก็ตามจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยหากคุณทราบอักขระพ่วงท้ายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ทราบความหมาย ต่อไปนี้คือรายการตัวอักษรสำหรับเครื่องพีซี เซิร์ฟเวอร์ และชิปแบบติดตั้งภายในในปัจจุบัน และความหมายของตัวอักษรเหล่านี้
รูปแบบ/ประเภทการทำงาน/เซกเมนต์ | อักขระพ่วงท้าย | ได้รับการปรับ/ออกแบบมาเพื่อ |
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ |
K | ประสิทธิภาพสูง, ปลดล็อกความเร็วสัญญาณนาฬิกา |
F | ต้องใช้กราฟิกแบบแยก | |
S | รุ่นพิเศษ | |
T | ไลฟ์สไตล์ที่เน้นพลังประมวลผล | |
X/XE | ประสิทธิภาพสูงสุด, SKU แบบปลดล็อก | |
โมบายล์ (แล็ปท็อปและ 2 in 1) |
HX | ประสิทธิภาพสูงสุด, SKU แบบปลดล็อกทั้งหมด |
HK | ประสิทธิภาพสูงสุด, SKU แบบปลดล็อกทั้งหมด | |
H | ประสิทธิภาพสูงสุด | |
P | ประสิทธิภาพปรับแต่งมาสำหรับแล็ปท็อปที่บางและเบา | |
U | ประหยัดพลังงาน | |
Y | ประหยัดพลังงานเป็นพิเศษ | |
G1-7 | ระดับการ์ดจอ | |
ฝังในตัว |
E | ฝังในตัว |
UE | ประหยัดพลังงาน | |
HE | ประสิทธิภาพสูง | |
UL | ประหยัดพลังงาน, แพ็กเกจแบบ LGA | |
HL | ประสิทธิภาพสูง, แพ็กเกจแบบ LGA | |
เซิร์ฟเวอร์ – Xeon แบบปรับขนาดได้ (2017-2023) |
F | ขั้วต่อ Intel Omni-Path ในตัว |
H | ปรับมาให้เหมาะสำหรับฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ | |
M | ปรับมาให้เหมาะสำหรับงาน AI และการประมวลผลสื่อ | |
N | ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับเวิร์กโหลดเครือข่าย | |
P | ปรับมาให้เหมาะสำหรับเวิร์กโหลดระบบคลาวด์และ IaaS | |
Q | อุณหภูมิเคสต่ำ (สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบทำความร้อนด้วยน้ำ) | |
R | ปรับปรุงจากรุ่นก่อนหน้า | |
S | ปรับมาให้เหมาะสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูล | |
T | รองรับความร้อนและอายุการใช้งานยาวนาน | |
U | ปรับประสิทธิภาพซ็อกเก็ตเดียว | |
V | ปรับมาให้เหมาะสำหรับเวิร์กโหลดระบบคลาวด์และ SaaS | |
Y | รองรับ Speed Select Technology Performance-Performance Profile (SST-PP) | |
+ | ประกอบด้วยตัวเร่งความเร็ว 1 ตัวที่เปิดใช้งาน (DSA, DLB, QAT, IAA) | |
เวิร์กสเตชัน/HEDT – Xeon W | X | โปรเซสเซอร์ที่ปลดล็อกความเร็วสัญญาณนาฬิกา |
เซิร์ฟเวอร์ – Xeon D |
E | รองรับช่วงอุณหภูมิกว้างขึ้น |
N | รองรับ Intel® QuickAssist Technology | |
R | รองรับระบบเครือข่ายแบบเรียลไทม์ | |
T | มาพร้อมชุดควบคุมอินเทอร์เฟซเครือข่ายในตัว | |
เซิร์ฟเวอร์ – Xeon แพลตฟอร์มขั้นสูง/ขยายขนาดได้ (2024 – ) |
P | P-cores: ปรับมาให้มีประสิทธิภาพสูง |
E | E-cores: ปรับมาเพื่อประหยัดพลังงาน |
ที่มาของตาราง: ชื่อ หมายเลข และรายชื่อรุ่นของโปรเซสเซอร์ Intel®
ตัวอย่างชื่อโปรเซสเซอร์ Intel
Intel® Core™ i9-13900KS ชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์: Intel® Core™ หมายเลขโปรเซสเซอร์: i9 เลขรุ่น: 13 หมายเลข SKU: 900 อักขระต่อท้ายผลิตภัณฑ์: KS |
Intel® Core™ Ultra 7 265K ชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์: Intel® Core™ Ultra หมายเลขโปรเซสเซอร์: 7 เลขรุ่น: 2 หมายเลข SKU: 65 อักขระต่อท้ายผลิตภัณฑ์: K |
Intel® Core™ i7-14700F ชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์: Intel® Core™ หมายเลขโปรเซสเซอร์: i7 เลขรุ่น: 14 หมายเลข SKU: 700 อักขระต่อท้ายผลิตภัณฑ์: F |
Intel® Xeon® w7-2575X ชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์: Intel® Xeon® ระดับโปรเซสเซอร์: w7 เลขรุ่น: 2 หมายเลข SKU: 575 อักขระต่อท้ายผลิตภัณฑ์: X |
Intel® Xeon® 8593Q ชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์: Intel® Xeon® ระดับโปรเซสเซอร์: 8 เลขรุ่น: 5 หมายเลข SKU: 93 อักขระต่อท้ายผลิตภัณฑ์: Q |
Intel® Xeon® 6780E ชื่อกลุ่มโปรเซสเซอร์: Intel® Xeon® เลขรุ่น: 6 หมายเลขโปรเซสเซอร์: 7 หมายเลข SKU: 80 อักขระต่อท้ายผลิตภัณฑ์: E |

ชิปเซ็ต Intel® คืออะไร
ชิปเซ็ตทำหน้าที่จัดการกระแสข้อมูลที่รับส่งระหว่างโปรเซสเซอร์ หน่วยความจำ และส่วนประกอบอื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ ชิปเซ็ตแต่ละตัวออกแบบมาให้ใช้งานกับซ็อกเก็ตโปรเซสเซอร์แบบใดแบบหนึ่ง ดังนั้นคุณควรตรวจสอบความเข้ากันได้ของ CPU กับเมนบอร์ดเสมอ ชิปเซ็ตอาจจะรองรับโปรเซสเซอร์หลายรุ่น คุณจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิปเซ็ตรองรับสเปกของเมนบอร์ด เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างเหมาะสม ต่อไปนี้คือตัวอย่างของชิปเซ็ต Intel พร้อมด้วยซ็อกเก็ตของชิปเซ็ตเหล่านั้น
ชิปเซ็ต | โค้ดเนม | ซ็อคเก็ต |
Z690 | Alder Lake | LGA 1700 |
H670 | Alder Lake | LGA 1700 |
Z790 | Raptor Lake | LGA 1700 |
B760 | Raptor Lake | LGA 1700 |
Z890 | Arrow Lake | LGA 1851 |
แล้วชื่อของชิปเซ็ต Intel® หมายความว่าอย่างไร
ชื่อของชิปเซ็ต Intel ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Xeon จะแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ตระกูล รุ่น และชุดคุณสมบัติ
ตระกูล –ตัวอักษรหลักแรกหมายถึงตระกูลของชิปเซ็ต ซึ่งมีสี่ตระกูลด้วยกัน ได้แก่
Z-Series: ประสิทธิภาพสูง รองรับการโอเวอร์คล็อก และครบครันด้วยคุณสมบัติ
H-Series: ชิปเซ็ตระดับกลางสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องทำการโอเวอร์คล็อก
B-Series: ชิปเซ็ตพื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเริ่มต้นและพีซีในสำนักงาน
Q-Series: ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานภายในองค์กร โดยมาพร้อม vPro และเครื่องมือจัดการอื่น ๆ
เจนเนอเรชัน – ตัวเลขหลักแรก (อักขระหลักที่ 2) คือเลขรุ่นของชิปเซ็ต ตัวอย่างเช่น ชิปเซ็ต Z790 เลข "7" หมายความว่าชิปเซ็ตนี้อยู่ใน 700 Series ซึ่งชิปเซ็ตตระกูลนี้ออกแบบมาให้รองรับโปรเซสเซอร์ Core เจนเนอเรชัน 13 (Raptor Lake) และ 14 (Raptor Lake Refresh) ของ Intel ชิปเซ็ตเจนใหม่จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น และรองรับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
ชุดคุณสมบัติ – อักขระสองหลักสุดท้ายในรหัสสี่หลักจะหมายถึงชุดคุณสมบัติของชิปเซ็ต ยิ่งตัวเลขมากเท่าไหร่ ก็แสดงว่าชิปเซ็ตนั้นมีคุณสมบัติมากขึ้นหรือประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นเท่านั้น ตัวเลขนี้มักจะสอดคล้องกับตระกูลของชิปเซ็ต เช่น ชิปเซ็ตตระกูล Z จะมีตัวเลขสูงกว่าชิปเซ็ตตระกูล B แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นบ้าง แต่นี่เป็นหลักการโดยทั่วไป ดูตัวอย่างด้านล่าง
ชุดคุณสมบัติ | 90 | 70 / 10 | 70 | 60 |
Series | Z | H | Q | B |
การโอเวอร์คล็อก CPU | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี |
จำนวนเลน PCIe | High | ปานกลาง | ปานกลาง | ต่ำ |
จำนวนพอร์ต USB/SATA | High | ปานกลาง | ปานกลาง | ต่ำ |
คุณสมบัติระดับองค์กร | ไม่มี | ไม่มี | Intel vPro | ไม่มี |