เราสังเกตเห็นว่าคุณกําลังเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสหราชอาณาจักร คุณต้องการเยี่ยมชมเว็บไซต์หลักของเราแทนหรือไม่?

วิศวกรและช่างกำลังมองไปที่โน้ตบุ๊กในห้องเซิร์ฟเวอร์

จริงๆ แล้วคุณต้องการจำนวนการเขียนข้อมูลไดรฟ์ต่อวัน (DWPD) เท่าไหร่

สำหรับคนที่ทำหน้าที่จัดการพื้นที่เก็บข้อมูลเซิร์ฟเวอร์แล้ว จำนวนการเขียนข้อมูลของไดรฟ์ต่อวัน (DWPD) เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากส่งผลต่ออายุการใช้งานและประสิทธิภาพการทำงานของไดรฟ์แบบโซลิดสเตท (SSD) ปัจจุบันองค์กรต่างๆ หันมาใช้ SSD กันมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้นและปรับปรุงการตอบสนองของระบบ ดังนั้นความรู้ความเข้าใจเรื่องความสำคัญของ DWPD จึงสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ด้วยเหตุนี้ เราจึงจัดทำบทความขึ้นมาเพื่ออธิบายเกี่ยวกับ DWPD และช่วยคุณตัดสินใจว่าจำเป็นต้องใช้ DWPD เท่าใด

ความทนทาน

จำนวนการเขียนข้อมูลของไดรฟ์ต่อวัน (DWPD) คืออะไร DWPD คือค่าที่แสดงความทนทานของ SSD โดยระบุจำนวนครั้งที่ไดรฟ์สามารถรองรับการเขียนข้อมูลต่อวันตลอดระยะเวลารับประกัน หรือก็คือค่าความสามารถของไดรฟ์ในการทนทานต่อการเขียนข้อมูลโดยไม่เกิดความเสียหาย DWPD เป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการพิจารณาความเหมาะสมของ SSD สำหรับการใช้งานหรือรูปแบบการใช้งานแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมการใช้งานระดับองค์กร ซึ่งไดรฟ์จะต้องรับการเขียนและการอ่านข้อมูลจำนวนมหาศาล

การคำนวณหา DWPD ที่ต้องการ

หากต้องการทราบว่าจริงๆ แล้วคุณต้องใช้ DWPD เท่าใด คุณต้องประเมินเวิร์กโหลดที่คาดการณ์และรูปแบบการเขียนข้อมูลของแอปพลิเคชันและระบบของคุณ สำหรับผู้บริโภคและการใช้งานเดสก์ท็อป/โน้ตบุ๊กส่วนใหญ่ เช่น เล่มเกม รับชมคอนเทนต์ การใช้งานภายในบริษัท รวมถึงการประมวลผลโดยทั่วไป SSD ที่มีค่า DWPD น้อย ก็น่าจะเพียงพอ

แต่สำหรับการใช้งานระดับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล การจำลองข้อมูลเป็นภาพ การสร้างคอนเทนต์ อาจจำเป็นต้องใช้ไดรฟ์ที่มีค่า DWPD สูงกว่าการใช้งานทั่วไปของผู้บริโภค และนี่คือเหตุผลว่าทำไมคุณควรพิจาณาสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้เมื่อต้องคำนวณหาความต้องการ DWPD

ลักษณะเฉพาะของเวิร์กโหลด:
สังเกตลักษณะของเวิร์กโหลดข้อมูล ว่าเน้นการเขียนข้อมูล เน้นการอ่านข้อมูล หรือเท่าๆ กันทั้งสองแบบ จากนั้นวิเคราะห์รูปแบบอินพุต/เอาท์พุตของแอปพลิเคชันเพื่อหาปริมาณการเขียนข้อมูล

ความต้องการสำหรับการใช้งานรูปแบบต่างๆ:
การใช้งานแต่ละแบบต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากน้อยแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลมักจะต้องใช้ไดรฟ์ที่มี DWPD สูงกว่าการใช้งานทั่วไป เนื่องจากต้องเขียนข้อมูลลงไดรฟ์บ่อยๆ

ความจุในการจัดเก็บข้อมูล:
ตามปกติแล้ว ยิ่ง SSD มีความจุมากเท่าไหร่ ระดับความทนทานก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย และอาจจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แม้ว่าจะต้องใช้ RAID ก็ตาม ดังนั้น ควรประเมินพื้นที่จัดเก็บช้อมูลที่จำเป็น แล้วเลือกไดรฟ์ที่มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลตามที่คุณต้องการ

ระยะเวลารับประกัน:
DWPD คำนวณตามระยะเวลารับประกันของไดรฟ์ ดังนั้นควรพิจารณาระยะเวลารับประกันด้วยตอนที่ประเมินหา DWPD ที่ต้องการ

ฉันต้องใช้ไดรฟ์ที่มีค่า DWPD สูงจริงหรือ

กราฟของ Enterprise SATA SSD DWPD Mix

ในการเลือก SSD สำหรับองค์กร หลายคนต้องการไดรฟ์ที่มีค่า DWPD สูงๆ โดยไม่ได้พิจารณาอย่างจริงจังว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการคืออะไร ทว่าในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ การทำความเข้าใจและเลือกซื้อสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณจริงๆ มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างความสมดุลระหว่างราคา ประสิทธิภาพการทำงาน และอายุการใช้งาน

หากคุณต้องการซื้อ SSD แบบ SATA ไม่ว่าจะเป็นการใช้ SSD ใหม่ หรือเลิกใช้ HDD แล้วเปลี่ยนมาใช้ SSD แทน คำถามสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ คุณต้องการ DWPD มากกว่า 1 หรือไม่

คำตอบคือ อาจจะไม่ หลักฐานคือรายงานฉบับล่าสุดของ Forward Insights ที่แสดงรูปแบบการใช้ไดรฟ์ SATA ระดับองค์กร และ DWPD ในปัจจุบัน รายงานชี้ให้เห็นว่าศูนย์ข้อมูลและองค์กรส่วนใหญ่ (82.3%) ที่ใช้ไดรฟ์แบบ SATA ในเซิร์ฟเวอร์ ประสบความสำเร็จโดยใช้ไดรฟ์ที่มีค่า DWPD น้อยกว่า 1

การหาสมดุลที่เหมาะสม

หัวใจสำคัญในการเลือก SSD ที่มีค่า DWPD เหมาะสมคือ การหาสมดุลระหว่างประสิทธิภาพการทำงาน ค่าใช้จ่าย และความทนทาน ถึงแม้ว่า DWPD ที่มีค่าสูงๆ จะมีความทนทานมากกว่า แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าด้วย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องหาสมดุลที่พอดีกับความต้องการในการใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไปในส่วนที่ไม่จำเป็น

นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี SSD เช่น อัลกอริทึมกระจายการเขียนข้อมูล (Wear leveling) ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของ SSD ได้อีกทางหนึ่ง คุณสมบัติเหล่านี้จะกระจายวงจรการเขียนและการลบให้เท่าๆ กันทั่วทั้งไดรฟ์ จึงลดการสึกหรอก่อนเวลาอันควรให้เหลือน้อยที่สุดได้

ตัวอย่างเช่น DC600M SSD จาก Kingston ซึ่งเป็น SATA 3.0 6Gbps SSD สำหรับศูนย์ข้อมูลเจน 4 อันล้ำสมัย ที่มาพร้อมกับ 3D TLC NAND และออกแบบมาเพื่อรองรับเวิร์กโหลด “การใช้งานแบบผสมผสาน” โดยเฉพาะ DC600M พัฒนามาเพื่อการใช้งานร่วมกับแร็คเซิร์ฟเวอร์ระดับสูงและมาพร้อมฮาร์ดแวร์ป้องกันการสูญเสียพลังงาน (PLP) ในตัวที่ทำงานผ่านตัวเก็บประจุกรณีไฟฟ้าดับ ซึ่งจะปกป้องข้อมูลในกรณีที่ไฟฟ้าดับโดยไม่คาดคิด จึงลดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะสูญหายและช่วยให้ไดรฟ์กลับมาใช้งานได้อีกครั้งอย่างราบรื่นเมื่อมีการจ่ายไฟเข้าสู่ระบบ

DC600M ออกแบบมาให้มีความหน่วงเวลาและ IOPS สม่ำเสมอ เหมาะสำหรับผู้ให้บริการผสานรวมระบบ องค์กรที่ใช้เซิร์ฟเวอร์แบบติดตั้งภายในอาคาร ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ และผู้ให้บริการคลาวด์ โดยมีความจุให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 480GB ไปจนถึง 7680GB ครอบคลุมความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลายระดับ อีกทั้งยังรับประกันถึง 5 ปี

สรุป

จำนวนการเขียนข้อมูลของไดร์ฟต่อวัน (DWPD) เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญในการเลือก SSD ระดับองค์กรที่เหมาะกับความต้องการพื้นที่เก็บข้อมูล คุณสามารถเลือก DWPD ที่เหมาะกับรูปแบบการใช้งานได้ โดยการประเมินเวิร์กโหลดการใช้งานอย่างรอบคอบ เข้าใจรูปแบบอินพุต/เอาท์พุต และพิจารณาปัจจัยอย่างอื่น เช่น ความจุและการรับประกัน

ทีม Ask an Expert พร้อมตอบคำถามและให้คำแนะนำว่าคุณต้องทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย เพราะว่าสุดท้ายแล้ว การเลือก SSD ที่สมดุลกันทุกด้าน ไม่เพียงช่วยให้ SSD ทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับความต้องการของคุณด้วย

#KingstonIsWithYou

ถามผู้เชี่ยวชาญ

 ถามผู้เชี่ยวชาญระบบ SSD

การวางแผนระบบการทำงานที่เหมาะสมต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ด้าน IT ของคุณ ให้ผู้เชี่ยวชาญจาก Kingston เสนอคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่คุณ

ถามผู้เชี่ยวชาญ

บทความที่เกี่ยวข้อง